วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บุญช่วย สายราม


บุญช่วย สายราม


บุญช่วย สายราม


บุญช่วย สายราม


การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในประเทศไทย โดย บุญช่วย สายราม (Dr. Can.) Ed.D. MSU,Thailand.



โปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในประเทศไทย
โดย  บุญช่วย  สายราม
(Dr. Can.) Ed.D. MSU,Thailand. 


ผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา โดย บุญช่วย สายราม (Dr. Can.) Ed.D. MSU. Thailand.



กรอบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา
โดย บุญช่วย  สายราม
(Dr. Can.) Ed.D. MSU. Thailand.


การพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบโรงเรียน โดย บุญช่วย สายราม นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



การพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบโรงเรียน
โดย บุญช่วย   สายราม
นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม







กลยุทธ์หลัก : ความรับผิดชอบในระบบการจัดการศึกษา โดย บุญช่วย สายราม นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




กลยุทธ์หลัก : ความรับผิดชอบในระบบการจัดการศึกษา
โดย บุญช่วย  สายราม
นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สำหรับประเทศไทย โดย บุญช่วย สายราม นิสิตปริญญาเอกสาขา การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม






ปฎิรูปการศึกษา VS ปัญหาการศึกษาไทยยุคปฏิรูป ในทศวรรษที่ 2 โดย บุญช่วย สายราม นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ปฎิรูปการศึกษา VS ปัญหาการศึกษาไทย  
โดย บุญช่วย   สายราม  
นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

..............................................
สรุป สะท้อนภาพปัญหาการศึกษาไทยยุคปฏิรูป ในทศวรรษที่ 2


ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ โดย บุญช่วย สายราม นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่  
โดย บุญช่วย   สายราม  
นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
........................................................
การจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ตัวแปรที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งจะต้องเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำที่ดี  มีทักษะความเป็นผู้นำ มีปัญญา มีความรู้ความสามารถ และใช้การวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  การบรรลุเป้าหมายด้านคุณภาพของผู้เรียนจึงต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดก็คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำสูงคือกุญแจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่ยั่งยืน ซึ่งนักการศึกษาทั้งหลายต่างมีทัศนะว่าผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำยุคใหม่ที่มีทักษะการบริหารงาน เป็นผู้นำทีมแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพ สามารถบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม สามารถเชื่อมโยงสภาพปัจจุบันและภาพอนาคต  มุ่งพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กล่าวได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องอาศัยทักษะภาวะผู้นำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน  มองเห็นภาพอนาคต  และสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานทุกคนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด หากกล่าวถึงทักษะภาวะผู้นำจะมุ่งเน้นถึงคุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นำองค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารงาน บริหารตนเอง และบริหารบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารประกอบด้วย ทักษะทางเทคนิค  ทักษะทางมนุษย์  และทักษะทางความคิดรวบยอด  แต่สำหรับผู้บริหารสถานศึกษานั้นต้องมีทักษะทางการบริหารงานเพิ่มขึ้นอีก   ทักษะ คือ ทักษะการจัดการเรียนการสอนและทักษะทางการเรียนรู้ ซึ่งรวมเป็นทักษะที่จำเป็นพื้นฐาน  5 ทักษะที่ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการบริหารงาน  การเป็นผู้นำที่มีความโดดเด่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะหลัก  (Core  Leadership skills)   หรือทักษะที่จำเป็น (Essential Skills) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้นำยุคใหม่ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำที่แท้จริง สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ทักษะการสร้างทีม  ทักษะการกำหนดเป้าหมาย ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสร้างบรรยากาศ ทักษะการกระตุ้นจูงใจ  ทักษะการเปลี่ยนแปลง และทักษะการสร้างความสัมพันธ์  นอกจากที่กล่าวข้างต้น ทักษะภาวะผู้นำยุคใหม่ที่ผู้นำองค์กรต้องได้รับการพัฒนาและถือว่าเป็นอีกทักษะที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก คือ ทักษะชีวิต เพราะการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในองค์กรและในชีวิตทั่วไป  ผู้นำองค์กรสมัยใหม่ต้องสามารถมองโลกได้หลายมิติ สามารถเชื่อมโยงบูรณาการสิ่งต่างๆที่ส่งผลต่อการบริหารงานภายในองค์กรได้อย่างชาญฉลาด เป็นผู้นำที่สามารถสร้างความประทับใจและเข้าถึงเพื่อนร่วมงานได้ทุกระดับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีงามของการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรมประจำตนและเป็นที่ยอมรับนับถือ 
ทักษะภาวะผู้นำ ( Leadership Skills ) เป็นกระบวนการใช้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจในประสบการณ์และเข้าใจคุณค่าของความเป็นผู้นำในตัวเอง  ตระหนักถึงวิธีการขจัดความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมพฤติกรรมและพัฒนาความสามารถพิเศษของความเป็นผู้นำ มุ่งบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้ความท้าทายต่างๆ  โดยให้ทุกคนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการวางแผนไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารในศตวรรษที่  21   ( Essential leadership skills in the 21st century )  ซึ่งเป็นทักษะภาวะผู้นำที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในตัวผู้นำในระดับต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้  
1. ทักษะการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล (  Effective Team building skill )  
2.  ทักษะการแก้ปัญหา ( Problem  solving skills )  
3.  ทักษะการวางแผน ( Planning Project skills )  
4.  ทักษะการกำกับการปฏิบัติงาน  ( Performance monitoring skills )  
5.  ทักษะการสื่อสาร  (Communication skills )  
6.  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  ( Relationship building up skills )  
7.   ทักษะการเป็นพี่เลี้ยง  ( Coaching skills ) 
8.   ทักษะทางสังคม  ( Social skill )  
9.  ทักษะการติดสินใจ   ( Decision making skill )  
10. ทักษะการกระตุ้นจูงใจ ( Motivational skills )  
11. ทักษะการคิดและสะท้อนผล  ( Reflective & thinking  skills ) 
12. ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management skills)   
13. ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี (Technological skills)   
14. ทักษะด้านการเรียนการสอน  (Pedagogical skills)  
15. ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ ( Emotional intelligence skills )   
16. ทักษะการเสริมพลังอำนาจ    ( Empowerment skills )    
17. ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์  (Visioning skills)   
18. ทักษะการบริหารเวลา  (Time  management skills)    
19. ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  (Conflict resolution) 
20. ทักษะการจัดการความเสี่ยง  (Risk management skills)   
 สำหรับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานั้น งานวิจัยของ  Weigel  (2012) พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ถ้าผู้บริหารโรงเรียนขาดทักษะภาวะผู้นำก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้ ซึ่งทักษะภาวะผู้นำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับภาระงานและบุคคลลากร ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในบริบทของโลกยุคใหม่  งานวิจัยของ Lee  (2008) พบว่า ทักษะภาวะผู้นำโรงเรียนที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการปฏิบัติงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทักษะการสร้างทีมงาน (team building skill)  ทักษะด้านความร่วมมือ ( Collaboration skill )  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์   ( Critical thinking and creativity skill )  ทักษะด้านการแก้ปัญหา            ( problem solving skill )  ทักษะด้านการสื่อสาร ( Communication skill ) และทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ( Learning innovation skill )  งานวิจัยของ  Ejimofor  ( 2007) พบว่า การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาทำให้เกิดการเรียนรู้ความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เกิดความเข้าใจและมีพฤติกรรมการบริหารงานที่สร้างความประทับใจให้กับทีมงาน โดยมีกระบวนการพัฒนาคือ การอบรมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และงานวิจัยของ National Association of Secondary School Principals (NASSP) (2013) พบว่า ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญและส่งผลดีต่อการบริหารโรงเรียนให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย  ได้แก่  ทักษะการทำงานเป็นทีม (teamwork skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (problem solving skills)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (critical thinking and creativity skill)   ทักษะด้านการสื่อสาร (communication skill)  ทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ (learning innovation skill) ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล  (digital literacy skills)  ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร ( setting instructional direction skill ) ทักษะการเรียนรู้ได้เร็ว  (sensitivity skill) ทักษะการพิจารณาตัดสิน (adjustment skill) และ ทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ์  (results orientation skill) 
  สำหรับในประเทศไทย การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงาน คือ การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School – Based  Management) โดยต้องมุ่งเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์ คือ การมีทักษะทางสังคม ได้แก่ สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจในทีมงาน  การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการความขัดแย้งได้ดี    ผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำที่เหมาะสมส่งผลให้การปฏิบัติงานของโรงเรียนในด้านการบริหารงานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจ และยังส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือและการสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน  จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ที่สามารถเสริมสร้างความมีภาวะผู้นำทีมในโรงเรียนสูง  การจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์   การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ   การมีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ   การพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้อื่น  การมีความคิดสร้างสรรค์  และการขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์  เป็นต้น 
           สรุปได้ว่า การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่าเป็นกรอบสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ( พ. . 2552 – 2561) โดยมุ่งหมายให้ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งการบริหารและพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมมาก

โดยสถานศึกษาจะมีอำนาจในการบริหารและจัดการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น  ( School  based management )  ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปรับบทบาทหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีทักษะทางการบริหารงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  มีความพร้อม  มีสมรรถนะและศักยภาพ มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  สามารถบริหารจัดการศึกษาและดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล สามารถบริหารจัดการและสนับสนุนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  

References
Achua, C. F. and Robert N. Lussier. (2013).  Effective leadership. 5th edition. United
Kingdom : Erin Joyner.
Adair, John. (2010). Develop your leadership skills. Great Britain : Thorogood
Publishing.
Cook , Sarah.  (2009)Building a High- Performance Team Proven techniques for
effective team working . IT Governance Publishing : United Kingdom.
Dyer, W. G., W. Gibb, Jeffrey H. (2007). Team Building : Proven Strategies for
Improving Team Performance. Fourth Edition. San Francisco : John Wiley.              Ejimofor, F. O. ( 2007).  Principals’ Transformational Leadership Skills and Their
Teacher’s Job Satisfaction in Nigeria. Dissertation Ph.D. Thesis in Philosophy.
Cleveland State University : Nigeria. 
Fullan, Michael. (2007)The new meaning of educational change. New York :
          Columbia University.
Fullan,  M. (2012)21st Century Leadership: Looking Forward. [Online]. Available from :
[Accessed  19 April 2013].
Jodhi, M.  (2012)Administration skills. United States of America : Ventus.
Jones, Jeff. (2004). Management Skills in Schools. Great Britain : SAGE Publications.
Katz, R. L. (1955).  Skills of an Effective Administrator. United Kingdom : Harvard
Business Review.
Katzenbach, J.R. and Douglas K. Smith. (2005). The discipline of teams. United States
          Of America : Harvard Business School Publishing.
Kayser ,Thomas A. (2011). Building Team Power : How to Unleash the Collaborative
          Genius of Teams for Increased Engagement, Productivity, and Results.
          United States of America : McGraw-Hill.
Lee, D. M.  (2008)Essential Skills for Potential School Administrators: A Case
 Study of One Saskatchewan Urban School Division.  University of
 Saskatchewan : Saskatoon.
National Association of Secondary School Principals (NASSP). (2013).  Breaking Ranks:
 10 Skills for Successful School Leaders. [Online]. Available from :
https://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskills_ExSum.pdf [Accessed  1 April 2013].
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2009).  Improving
          school leadership the toolkit. USA. : OECD Publishing.
(OECD). (2012).  Preparing Teachers and Developing school leader for the 21st
 Century. USA :  OECD Publishing.
 (OECD) . (2012).  Better Skills, Better Jobs, Better Lives: A Strategic Approach to Skills
 Policies. USA : OECD Publishing.
 (OECD) . (2013)OECD Skills Outlook 2013: First Results from the Survey of Adult
 Skills. USA : OECD Publishing.